Article Science Provision for Early Childhood

การสอนลูกเรื่องไฟฉาย

การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก

การสอนเรื่องไฟฉายมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร
  • เมื่อเด็กได้มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้เรื่องไฟฉาย ได้แก่ แสงฉายมาจากไหน ทำไมคนเราต้องใช้แสงฉาย เมื่อได้ความรู้มาแล้ว เด็กจะได้ฝึกหัดอธิบายเรื่องที่ศึกษามา สำหรับเด็กปฐมวัยควรฝึกด้วยวิธีง่ายๆจากธรรมชาติเบื้องต้นก่อน คือ การพูด บอกเล่าสิ่งได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัสมา เป็นต้น แต่เด็กที่มีความสามารถมักจะสื่อสารวิธีที่ยากกว่า เช่น วาดรูป หรือเขียนข้อความ เป็นต้น การค้นคว้าหาความรู้เช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กที่จะทำให้เด็กเป็นผู้รู้จักการสังเกต รู้จักการถาม และ รู้จักการคาดคะเน หรือการตั้งสมมติฐานที่จะนำไปสู่การกำหนดวิธีการสืบหาความจริงต่อไป
  • เด็กได้ทำการทดลองใช้ไฟฉาย เช่น เปิดสวิทซ์ไฟที่กระบอกไฟ ส่องแสงไฟฉายในที่มืดจะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น การที่เด็กได้เป็นผู้ปฏิบัติทดลองสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ย่อมทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อเกิดการเรียนรู้
  • เด็กได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีคือไฟฉายและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสำรวจตรวจสอบ จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆต่อไป
  • เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามรถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล เนื่องจากเด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการกระทำในสภาพจริง เช่น การใช้ไฟฉายส่องผ่านในที่มืดจะเห็นวัตถุต่างๆ เพราะมีแสงจากไฟฉาย หรือแสงที่ส่องออกไปเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีระดับความร้อนแตกต่างจากแสงดวงอาทิตย์ แสงไฟฉายต้องอาศัยวัตถุที่บรรจุลงในกระบอกไฟฉายจึงจะเกิดแสง เป็นต้น
  • เด็กจะเป็นผู้มีความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเที่ยงตรง มีเหตุผลกับเพื่อนร่วมงาน และตอบคำถามได้ เนื่องจากได้รับการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ครูสอนเรื่องไฟฉายให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร

  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูปิดไฟในห้อง ส่องไฟฉายหลายๆกระบอกไปในทิศทางต่างๆ แล้วให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะของเครื่องดนตรีที่ครูเคาะ ให้เด็กเคลื่อนไหวไปในลำแสงที่ไฟฉายส่อง เด็กบางคนอาจจะชูมือ เด็กบางคนอาจจะโยกตัว ในขณะเดียวกัน เด็กจะเห็นเงาของตนเองและเพื่อน เมื่อลำแสงจากไฟฉายกระทบส่วนต่างๆของร่างกาย
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง ลักษณะของไฟฉายจากการได้สัมผัส จับต้อง ให้รู้จักชื่อวัสดุที่นำมาทำส่วนประกอบของไฟฉายว่ามีอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร
พ่อแม่ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องไฟฉายได้อย่างไร
  • ทดลองใช้ไฟฉายเล่นกับลูก นำลูกเข้าไปในห้อง ปิดไฟในห้อง แล้วใช้ไฟฉายฉายไฟ ถามลูกว่า อะไรเกิดขึ้น
  • เมื่อเกิดไฟฟ้าดับที่บ้าน เป็นโอกาสดีที่พ่อแม่ได้ใช้ไฟฉายให้เกิดประโยชน์ โดยส่องแสงให้เกิดความสว่าง ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ควรสนทนาเอ่ยชื่อไฟฉายให้ลูกได้ยิน และให้ลูกได้ถือได้ส่องแสงบ้าง เพราะไม่มีอันตรายสำหรับเด็ก
  • ใช้ไฟฉายเล่นเงากับลูก เริ่มจากพ่อแม่สร้างโรงหุ่นง่ายๆ โดยใช้ลังหรือกล่องขนาดใหญ่ เช่น ลังตู้เย็น นำมาเจาะฝาด้านหนึ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยม ขึงผ้าด้านที่เจาะไว้เป็นจอเชิดหุ่น เมื่อเข้าไปอยู่ในกล่องแล้ว ใช้ฉายไฟไปที่หุ่นที่เตรียม และเล่านิทานประกอบหุ่นเงาให้ลูกฟัง หรือให้ลูกเล่าเองตามจินตนาการของเขา หุ่นที่นำมาใช้เล่า ได้แก่ หุ่นกระดาษที่วาดภาพและตัดรอบรูป ใช้ไม้ไผ่หรือไม้ตะเกียบติดกับรูปภาพ หุ่นสามมิติชักเชิดจากเส้นเชือก หรือใช้มือเล่นเงากับลุกได้อย่างสนุก โดยทำเป็นรูปร่างของสัตว์ คน หรือสิ่งของต่างๆ พ่อแม่ควรทดลองเล่นมาก่อน เมื่อเล่นกับลูก ให้สาธิตแล้วให้ลูกทำตาม แต่หากลูกขอเสนอเป็นผู้แสดงเอง ควรให้เขาทำและยอมรับสิ่งที่เขาเสนอบ้าง เพื่อเด็กจะมีความภูมิใจ
  • เมื่อไปที่ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า หากนำลูกไปด้วย ชี้แนะให้ลูกเห็นไฟฉายที่ร้านวางไว้จำหน่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning Log 13

Learning Log 13 Wednesday 21 November 2018 วันนี้อาจารย์แนะโปรแกรมการทำวีดีโอ   www.app.biteable.com   เพื่อมาสร้างผลงานเป็นวีดีโอการ...